วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

1.จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3 เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ  คือข้อใด
   ก. 4 , 4 , 0 , 3     ข. 6 , 3 , 1 , 0       ค. 4 , 3 , 0 , 3      ง. 5 , 4 , 1 , 0

2. พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร
    ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
    ข. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
    ค. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
    ง. พันธะที่เกิดจากการใช้์อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวร่วมกัน 1 คู่

3. ธาตุในข้อใด เกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคลอรีนได้ดีที่สุด

    ก. Na                ข. Ra             ค. C                 ง. Cs
4. สมบัติทางกายภาพในข้อใด ที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ
    ก. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมใหญ่ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    ข. พลังงานไอออไนเซชันต่ำ ขนาดอะตอมใหญ่ อิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ
    ค. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    ง. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง
5. ธาตุ Z มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ 8 เป็นดังนี้ 1.320, 3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343, 84.086 ธาตุ Z มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด

    ก. 1                ข. 4                ค. 6                ง. 7

6. ตารางแสดงค่าพลังงานพันธะเฉลี่ยในสารไฮโดรคาร์บอน
ชนิดพันธะ
พลังงานพันธะ
C - H
413
C - C
348
การสลายพันธะโพรเพน (C3H8)  0.5 โมล จะต้องใช้พลังงานมากกว่าหรือน้อยกว่าการสลายพันธะอีเทน (C2H6)  0.5 โมล  เท่าไร
     ก. มากกว่า 587 kJ     ข. น้อยกว่า 283 kJ      ค. มากกว่า 526 kJ     ง. น้อยกว่า 278 kJ

7. เหตุใดสารโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ
    ก. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย       ข. สารโคเวเลนต์มักสลายตัวได้ง่าย
    ค. สารโคเวเลนต์ไม่มีประจุไฟฟ้า                                   ง. สารโคเวเลนต์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก
8. สารละลายที่เกิดจากธาตุหมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร
    ก. เป็นกลาง     ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส      ค. เป็นกรด       ง. เป็นเบส

9. สาร X เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว สาร Y เป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสาร Z เป็นพันธะไม่มีขั้ว ถ้าขนาดของโมเลกุลของ X>Y>Z แล้วสาร X Y และ Z ควรเป็นดังข้อใด

    ก. CH2 , NH3 , C6H6      ข. BeCl2 , CH2Cl2 , S8      ค. Br2 , H2O , H2      ง. SiH4 , PCl3 , PCl5

10. กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรงขั้วจากมากไปน้อย
  ก. A-B , B-X , X-Y     ข. A-Y , B-X , A-X     ค. Y-B , A-Y , A-X     ง. A-X , B-Y , A-Y


สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ


จากการศึกษาการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ ช่วยให้ทราบว่าตารางธาตุในปัจจุบันจัดธาตุเป็นหมู่และเป็นคาบโดยอาศัยสมบัติบางประการที่คล้ายกัน สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบซึ่งได้แก่ ขนาดอะตอม รัศมีไอออน พลังงาน ไอออไนเซชัน อิเล็กโทรเนกาติวิตี สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน จุดหลอมเหลวและจุดเดือด และเลขออกซิเดชัน อ่านเพิ่มเติม..

การเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์

 สารประกอบโคเวเลนต์เป็นโมเลกุลของสารที่เกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ ชนิดขึ้นไปมาสร้างพันธะโคเวเลนต์ต่อกันด้วยสัดส่วนต่าง ๆ กัน ทำให้เป็นการยากในการเรียกชื่อสาร จึงได้มีการตั้งกฎเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ขึ้น อ่านเพิ่มเติม...

แบบจำลองอะตอมของโบร์


นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาเรื่องเกี่ยวกับอะตอม โดยได้เสนอแบบจำลองอะตอมจากการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่งแบบจำลองของรัทเธอร์ฟอร์ดได้รับการยอมรับแต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ จึงมีผู้พยายามหาคำอธิบายเพิ่มเติม โดยในปี 1913 นีล โบร์ (Niels Bohr) นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ได้ทำการศึกษาการเกิดสเปกตรัมของก๊าซไฮโดรเจน และได้สร้างแบบจำลองอะตอมอ่านเพิ่มเติม..

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด


ได้ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟา ( นิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม ) ไปที่แผ่นโลหะบาง ในปี พ.ศ.2449 และพบว่าอนุภาคนี้ สามารถวิ่งผ่านได้เป็นจำนวนมาก แต่จะมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นอนุภาคที่กระเจิง ( การที่อนุภาคเบนจากแนวการเคลื่อนที่จากที่เดิมไปยังทิศทางต่างๆกัน ) ไปจากแนวเดิมหรือสะท้อนกลับทางเดิม อ่านเพิ่มเติม..

แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก


เป็นแบบจำลองที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่าเป็นไปได้มากที่สุดทั้งนี้ได้จากการประมวลผลการทดลองและข้อมูลต่างๆ   อะตอมภายหลังจากที่นีลส์โบร์  ได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมา อาจสรุปได้ดังนี้
1. อิเล็กตรอนไม่สามารถวิ่งรอบนิวเคลียสด้วยรัศมีที่แน่นอน  บางครั้งเข้าใกล้บางครั้งออกห่าง จึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนได้   แต่ถ้าบอกได้แต่เพียงที่พบอิเล็กตรอนตำแหน่งต่างๆภายในอะตอมและอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่เร็วมากจนเหมือนกับอิเล็กตรอนอยู่ทั่วไป ในอะตอมลักษณะนี้เรียกว่า " กลุ่มหมอก"  อ่านเพิ่มเติม..

แบบจำลองอะตอมของดอลตัน


ทุกสิ่งทุกอย่างประกอบขึ้นจาก อนุภาคที่เล็กมาก  เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้   อนุภาคเล็กๆ เหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธิการต่างๆ สำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีกได้  ดีโมครี- ตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า อะตอม (Atom)   จากภาษากรีกที่ว่า  atoms  ซึ่งมีความหมายว่า  ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก   ตามความคิดเห็นของเขา  อะตอมเป็นชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้  อ่านเพิ่มเติม..

ความยาวพันธะและพลังงาน




  การสร้างพันธะเคมีเป็นกระบวนการที่จะทำให้อะตอมมีความเสถียรขึ้นกว่าเดิม  ความเสถียรมีความสัมพันธ์กับระดับพลังงานของอะตอม  อะตอมที่มีพลังงานต่ำจะเสถียรกว่าอะตอมที่มีพลังงานสูง      การสร้างพันธะเคมีจะเกิดขึ้นพร้อมการคายพลังงานจำนวนหนึ่งออกมา  อ่านเพิ่มเติม...

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

  ธาตุกึ่งโลหะ  

(semimetals) หรือ ธาตุเมทัลลอยด์ ( matalliods) จะอยู่ค่อนไปทางขวาของตารางธาตุจะเป็นเส้นทึบเป็นขั้นบันไดปรากฏอยู่ ซึ่งจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ ซึ่งอยู่กึ่งกลาง
       ...อ่านเพิ่มเติม
      
    
 ตำแหน่งของธาตุกึ่งโลหะเป็น
ดังนี้ 



ปฏิกิริยานิวเคลียร์

ปฏิกิริยานิวเคลียร์  คือ  ปฏิกิริยาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงกับนิวเคลียสของอะตอม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม หรือลดโปรตอน หรือนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ปฏิกิริยานี้
{}^{23}_{11} Na + {}^1_0 n \rarr {}^{24}_{11} Na + \gamma
จะเห็นได้ว่าโซเดียม ได้มีการรับนิวตรอนเข้าไป เมื่อนิวเคลียสเกิดความไม่เสถียร จึงเกิดการคายพลังงานออกมา และพลังงานที่คายออกมานั้น เมื่ออยู่ในรูป\\ อ่านเพิ่มเติม

 ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม


         นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับธาตุและสมบัติของธาตุต่างๆ มาแล้ว ต่อไปนี้จะศึกษาธาตุและสารประกอบของธาตุที่สำคัญบางชนิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์สัตว์และพืช พร้อมทั้งศึกษาถึงผลก...อ่านเพิ่มเติม